ไทย ENG

CONTACT US
0-2026-6875

WCIA Weekly Highlight 23 April 2024

23/04/2024

บทความการลงทุนประจำสัปดาห์ระหว่างวันที่ 23 – 26 เมษายน 2567
นักลงทุนหวังกำไร Magnificent 7 ไตรมาส 1/24 ยังพุ่งต่อ ตลาดมองอิสราเอลโจมตีอิหร่านเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ผลสำรวจล่าสุดเผย เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเกิด No Landing มากขึ้นและอัปเดทข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ

Executive Summary

  • ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลว่าเฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาด เพราะยังไม่มั่นใจต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเงินเฟ้อ และถูกกดดันจากหุ้นที่เกี่ยวกับชิป โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ตลาดฟิลาเดลเฟียปรับตัวลงรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบ 2 ปี นอกจากนี้ตลาดถูกปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง
    เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นทั้งปี แนะนำเข้าลงทุนและสะสมเพิ่มได้ในช่วงที่ตลาดหุ้นย่อตัวและให้นักลงทุนติดตามงบกำไรไตรมาส 1/67 ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำทิศทางตลาดหุ้นและส่งผลต่อ sentiment การลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง
  • Special Headlines:
    นักลงทุนหวังกำไร Magnificent 7 ไตรมาส 1/24 ยังพุ่งต่อ
    ตลาดมองอิสราเอลโจมตีอิหร่านเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
    ผลสำรวจล่าสุดเผย เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเกิด No Landing มากขึ้น
  • มุมมอง: เราแนะนำกระจายการลงทุนท่ามกลางตลาดที่ยังคงผันผวน จากปัจจัยกดดันหลายส่วน โดยเน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่สหรัฐในกลุ่ม value และ quality growth ที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งและมีรายได้สม่ำเสมอ อย่าง หุ้นกลุ่ม health care technology และ Industrial เป็นต้น และเรามองว่าตลาดหุ้น Asia ex. Japan และเวียดนามในช่วงนี้เป็นโอกาสน่าลงทุนสำหรับการลงทุนระยะกลางถึงยาว เนื่องจาก valuation ของตลาดอยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูก ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนมีการเติบโตในระดับที่สูงตามปัจจัยพื้นฐาน ด้านตลาดหุ้นไทยมองว่ามี downside risk ที่ค่อนข้างจำกัด นักลงทุนสามารถทยอยสะสมลงทุนได้ คาดว่าจะเศรษฐกิจไทยและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติจะมีพัฒนาการเชิงบวกหลังจากนี้

Weekly Asset Total Return

ที่มา: Koyfin.com data as of 20 Apr 2024, *Annualized returns

นักลงทุนหวังกำไร Magnificent 7 ไตรมาส 1/24 ยังพุ่งต่อ

  • 1/2024 โดยเฉพาะกลุ่มหุ้น 7 นางฟ้า (Magnificent 7) ที่นักลงทุนเฝ้าจับตาดูเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลต่อทิศทางตลาดหุ้นและ sentiment การลงทุนอย่างมาก ด้าน Bloomberg Intelligence เผยคาดการณ์กำไรรายไตรมาสของกลุ่ม 7 นางฟ้าจะโตที่ระดับ 38%YoY ขณะที่บริษัทในดัชนี S&P 500 ทั้งหมดคาดว่ากำไรจะโตเพียง 2.4%YoY
  • Meta บริษัทแม่ Facebook คาดว่ากำไรจะโตราว 100%YoY จากการที่บริษัทลงทุนใน AI ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอคอนเท้น โฆษณาและจับกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำมากขึ้น
  • Microsoft คาดว่ากำไรจะโต 15%YoY ซึ่งบริษัทได้ประโยชน์จากกระแส AI เช่นกัน จากการนำระบบ Copilot AI assistant มาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงธุรกิจ Azure cloud-services
  • Alphabet คาดว่ากำไรจะโตมากกว่า 30%YoY จากการนำ AI มาเสริมระบบ search engines อย่าง Bing ซึ่งก่อนหน้านี้ตลาดมีความกังวลระบบปฎิบัติการของบริษัท และงบ 2 ไตรมาสก่อนหน้านี้ออกมาน่าผิดหวังและนักลงทุนขายหุ้นออกมาค่อนข้างมาก ทำให้ราคาหุ้น laggard จากกลุ่มไปพอสมควร

ที่มา: Bloomberg

ตลาดมองอิสราเอลโจมตีอิหร่านเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์

  • วันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา อิสราเอลได้ยิงขีปนาวุธโจมตีอิหร่าน และได้มีการยืนยันว่าเป็นเมืองอิสฟาฮาน ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของอิหร่าน และอยู่ห่างจากกรุงเตหะราน ซึ่งเป็นเมืองหลวงไปทางใต้มากกว่า 400 กิโลเมตร โดยเมืองอิสฟาฮานเป็นที่ตั้งของโรงงานนิวเคลียร์หลายแห่งของอิหร่าน รวมถึงโรงงานนิวเคลียร์นาทาซ์ ซึ่งเป็นโรงงานนิวเคลียร์ที่มีการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียม ซึ่งข่าวรายงานว่าสถานที่ดังกล่าวไม่มีการถูกโจมตี ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากอิหร่านใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอล เพื่อตอบโต้ที่อิสราเอลโจมตีสถานกงสุลอิหร่านในประเทศซีเรีย
  • ด้านตลาดมองว่าการตอบโต้ของอิสราเอลเป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์มากกว่าต้องการจะทำสงคราม และเจ้าหน้าที่ทางการทหารของอิสรเอลได้ออกมาระบุหลังจากนั้นว่า ขณะนี้อิสราเอลมีภารกิจที่สำคัญกว่า อย่าง ในฉนวนกาซาและเลบานอน ด้านฝั่งอิหร่านออกมายืนยันว่า ไม่มีแผนที่จะตอบโต้อิสราเอลกลับในช่วงเวลานี้

ที่มา: Bloomberg

ผลสำรวจล่าสุดเผย เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเกิด No Landing มากขึ้น

  • ผลสำรวจ Fund Manager Survey ของ Bank of America เดือน เม.ย. เผยว่า บรรดาผู้จัดการกองทุนมองโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะไม่เกิดภาวะชะลอตัว หรือ No Landing ที่ 36% ขณะที่ผลสำรวจก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว ผู้จัดการกองทุนคาดการณ์โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเกิดสถานการณ์ดังกล่าวไม่ถึง 10% ซึ่งความกังวลที่ตามมาหลังจากนี้ คือ แนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐอาจจะชะลอตัวลงยากกว่าที่ประเมินก่อนหน้านี้และราคาสินทรัพย์ทั่วโลกจะยังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นต่อไป ทั้งนี้ท่ามกลางสภาวะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง การลงทุนในตราสารหนี้จะมีความน่าสนใจลดลง โดยในเดือนที่ผ่านมาเริ่มเห็นนักลงทุนขายตราสารหนี้ออกมา ซึ่งครั้งล่าสุดที่เกิดเหตุการณ์การขายตราสารหนี้ออกมาอย่างมากคือตอนปี 2003 หลังนักลงทุนคลายความกังวลสงครามอิรัก
  • ด้านนักเคราะห์มองว่า สถานการณ์ในช่วงเวลานี้คล้ายกับช่วงปี 2003 ซึ่งจะเห็นเม็ดเงินไหลออกจากตราสารหนี้เข้ามาลงทุนในหุ้น ประกอบกับหากตลาดคาดว่าเสรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสจะเกิด No Landing สูง ตลาดหุ้นจะเป็นจุดหมายปลายทางแรกๆ ของ fund flow ทั่วโลก

ที่มา: Bloomberg

Weekly Recap

US

  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียเผย ดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 12.3 จุด สู่ระดับ 15.5 และดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตยังคงมีการขยายตัว ถึงแม้ว่าการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยังซบเซา
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเดือน มี.ค. ลดลง 14.7%MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และถือเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2563 ด้านการอนุญาตก่อสร้างบ้านลดลง 4.3%MoM ลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เผยว่า ยอดขายบ้านมือสองในเดือน มี.ค. ลดลง 4.3%MoM และลดลง 3.7%YoY แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ เนื่องจากผลกระทบจากของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเพิ่มขึ้น ด้านสต็อกบ้านในตลาดเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 4.7%MoM และราคาเฉลี่ยของบ้านเพิ่มขึ้น 4.8%YoY
  • IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 67 เป็น 3.2% เพิ่มจากระดับ 3.1% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือน ม.ค. ซึ่ง IMF มองว่าเศรษฐกิจโลกก็ยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางสถานการณ์กดดันรอบด้าน เช่น สงครามในตะวันออกกลาง และอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูง และในปีนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั่วโลกจะอยู่ที่ระดับ 5.9% ซึ่งประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะกลับสู่เป้าหมายเงินเฟ้อได้เร็วกว่าประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา

Europe

  • รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยอาจถูกปรับลดในเดือน มิ.ย.นี้ แม้ว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เงินยูโรอ่อนค่าลง และเฟดมีแนวโน้มชะลอการลดดอกเบี้ยก็ตาม ซึ่งเรามองว่ามีโอกาสสูงที่ ECB จะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจยุโรปไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนสหรัฐ ซึ่งการตรึงดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันนานมากขึ้น อาจทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวได้ยากมากขึ้น
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือน มี.ค. ลดลง 2.9%YoY ซึ่งลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจากลดลง 4.1%YoY ในเดือน ก.พ. ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) รายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 43.9 จุดในเดือนเม.ย. จากระดับ 33.5 จุดในเดือน มี.ค. และดีกว่าที่ตลาดคาด
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เผย ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน มี.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า แย่กว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3%MoM ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้วที่ยอดค้าปลีกไม่มีการเติบโตเมื่อเทียบรายเดือน เนื่องจากยอดขายร้านสะดวกซื้อและร้านขายอาหารสดลดลง แม้เงินเฟ้อในประเทศจะผ่อนคลายลงในช่วงที่ผ่านมา
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.2%YoY จากระดับ 3.4%YoY ในเดือน ก.พ. ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้เล็กน้อย

Asia

  • รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยอาจถูกปรับลดในเดือน มิ.ย.นี้ แม้ว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เงินยูโรอ่อนค่าลง และเฟดมีแนวโน้มชะลอการลดดอกเบี้ยก็ตาม ซึ่งเรามองว่ามีโอกาสสูงที่ ECB จะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจยุโรปไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนสหรัฐ ซึ่งการตรึงดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันนานมากขึ้น อาจทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวได้ยากมากขึ้น
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือน มี.ค. ลดลง 2.9%YoY ซึ่งลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจากลดลง 4.1%YoY ในเดือน ก.พ. ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) รายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 43.9 จุดในเดือนเม.ย. จากระดับ 33.5 จุดในเดือน มี.ค. และดีกว่าที่ตลาดคาด
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เผย ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน มี.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า แย่กว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3%MoM ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้วที่ยอดค้าปลีกไม่มีการเติบโตเมื่อเทียบรายเดือน เนื่องจากยอดขายร้านสะดวกซื้อและร้านขายอาหารสดลดลง แม้เงินเฟ้อในประเทศจะผ่อนคลายลงในช่วงที่ผ่านมา
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.2%YoY จากระดับ 3.4%YoY ในเดือน ก.พ. ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้เล็กน้อย

Commodities

  • ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลงที่ระดับ 83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีทั้งปัจจัยบวกและลบส่งผลต่อทิศทางราคาน้ำมัน โดยถูกกดดันจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่มากกว่าตลาดคาดการณ์และความกังวลเศรษฐิจของจีนที่อ่อนแอ จะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน ขณะเดียวกันตลาดกำลังประเมินผลกระทบจากการที่สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอลา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก
  • ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 2,390 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน จากความกังวลเรื่องการโจมตีตอบโต้ระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าปิดบริเวณ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการคาดการณ์ว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยสหรัฐในที่ระดับสูงนานออกไป และจากความกังวลสงครามในตะวันออกกลาง กดดันให้ค่าเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่อ่อนค่าลง

ความเคลื่อนไหวของหุ้นสหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา: Tradingview.com as of 22 April 2024

อัปเดทกองทุนพักเงิน

ที่มา: AspenRTD, data as of 20 Apr 2024
หมายเหตุ: ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน
โดยรายละเอียดกองทุนที่แนะนำให้กับลูกค้าจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับระดับการยอมรับความเสี่ยง ผลตอบแทนคาดหวัง ข้อจำกัดในการลงทุนของแต่ละบุคคล และเรามีการคัดเลือกและวิเคราะห์กองทุนที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การลงทุนของแต่ละบุคคค โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ติดต่อทีมงานฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน เพื่อสอบถามรายละเอียดและคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับท่าน ได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-026-6875 หรือ อีเมลล์ investment@wealthcertified.co.th

Wealth Certified Investment Team

นาย พันเลิศ เจริญสวรรค์ : นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน ผู้วางแผนการลงทุน
นาย กรวิชญ์ สำเภาสงฆ์ : นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน ผู้วางแผนการลงทุน

อ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://wealthcertified.co.th/wcia-weekly-highlight-9-april-2024/
https://wealthcertified.co.th/wcia-monthly-insight-april-2024/

You cannot copy content of this page