ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากความคลายกังวลความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ แต่ด้านสงครามการค้ายังมีความผันผวนผลกระทบภาษีทรัมป์ประกาศไม่เลื่อนเส้นตายภาษีในวันที่ 9 ก.ค. และจะเริ่มมีผลเก็บจริงในวันที่ 1 ส.ค. ขณะที่ตลาดเริ่มคาดหวังการลดดอกเบี้ยโดยคำให้การต่อณะกรรมาธิการเจอโรม พาวเวลล์ กล่าวว่ายังไม่รีบลดดอกเบี้ยรอดูผลกระทบต่างๆให้ชัดเจนแต่ทรัมป์ต้องการให้ลดดอกเบี้ยมีการกดดันและวิจารณ์อย่างหนัก นักลงทุนประเมินว่าในระยะถัดไปต้องมีการลดดอกเบี้ยเกิดขึ้นจึงเป็นปัจจัยหนุนให้หุ้นฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ช่วงที่ผ่านมาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่งทำให้การลดดอกเบี้ยในระยะสั้นถูกลดน้ำหนักลงไปแต่ตลาดกลับมองเป็นปัจจัยบวกในมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตดีแสดงความ Bullish ที่มองในแง่ดีมากๆประกอบกับเริ่มคาดหวังการประกาศผลปประกอบการไตรมาส 2 และยังคงรอดูผลกระทบจากภาษีและความเสี่ยงต่างๆ
Major Indices Return


ค่า PE ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากหุ้นความคลายกังวลในช่วงสั้นหลังมีความชัดเจนการเจรจาการค้ามากขึ้นแม้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ขณะที่ตลาดหุ้นประเทศอื่นๆมีค่า PE ที่สูงขึ้น ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นทำให้ Earning Yield Gap มีแนวโน้มแคบลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
News overview from last month


U.S. Stocks Have Never Lost in June–July Over the Past Decade


Source : https://www.barchart.com/stocks/market-performance
TIMELINE: Israel–Iran Conflict – June 2025

Source 12 JUNE : Trump urges diplomatic solution with Iran but says Israeli strike could happen | Reuters
Source 13 JUNE : Rubio calls Israeli strikes against Iran ‘unilateral,’ says US not involved | Reuters
Source 14 JUNE : Iran plans to ‘give a harsh response’ to Israeli attack, Iranian security source to Reuters | Reuters
Source 15-17 JUNE : TRADING DAY Truce hopes spark rebound | Reuters
Source 18 JUNE : Trump keeps world guessing about US military action against Iran | Reuters
Source 19 JUNE : Trump Wraps Situation Room Meeting as Iran Plan Remains Mystery – Bloomberg
Source 20 JUNE : Iran strikes Israeli hospital; Trump to decide on US role in conflict within ‘two weeks’ | Reuters
Source 22 JUNE : Trump says Iran’s key nuclear sites ‘obliterated’ by US airstrikes | Reuters
Source 24 JUNE : Trump says US to hold nuclear talks with Iran next week | Reuters
Trump-Iran-Israel: From War to Negotiation

ปัจจุบันรัฐมนตรีต่างประเทศอาบาส อารักชีของอิหร่านยืนยันว่า “ไม่มีแผนจะพบกับสหรัฐฯ” ในสัปดาห์หน้า ตามที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวไว้
เขากล่าวในรายการโทรทัศน์ของรัฐว่าทางกรุงเตหะรานกำลังพิจารณาว่าการเจรจากับสหรัฐฯ มีความคุ้มค่าต่อผลประโยชน์ของชาติหรือไม่ หลังจากที่มีการเจรจามาห้ารอบ แต่วิกฤตการณ์ท่ามกลางการโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อิหร่านจากสหรัฐฯ และอิสราเอลก็ได้ตัดโอกาสในการเจรจาเหล่านั้น
อารักชียังระบุว่า “ความเสียหายต่อแหล่งนิวเคลียร์ไม่ใช่น้อย” และขณะนี้ทางการกำลังประเมินสถานการณ์และปรับนโยบายระหว่างประเทศตามความเป็นจริงใหม่ของโปรแกรมนิวเคลียร์
นอกจากนี้ รัฐมนตรีย้ำว่า ไม่มีการนัดหมายหรือข้อตกลงใด ๆ สำหรับการเจรจาในช่วงนี้
Source : Iran denies any meeting with US next week, foreign minister says | Reuters
Trump and his attempt to reduce war aid costs


อิสราเอลเดินหน้าพบสหรัฐฯ ที่วอชิงตัน ประเด็นสำคัญที่สหรัฐฯ–อิสราเอลพูดคุย
• หยุดยิงชั่วคราวและการปล่อยตัวนักโทษ–ตัวประกัน
รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังผลักดันข้อตกลงหยุดยิง 60 วัน เพื่อเปิดทางเจรจาสันติภาพในเชิงลึก และมีแผนแลกเปลี่ยนตัวประกันบางส่วน
• ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ–อิสราเอล
มีการหารืออย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอิหร่าน ซีเรีย และการประสานงานเพื่อควบคุมสถานการณ์ในภูมิภาค
• แผนการค้าและภาษีนำเข้า
ในการเดินทางมีการเจรจาด้านการค้า อาทิ ข้อตกลงด้านภาษี ซึ่งรวมถึงการยกเลิกภาษีนำเข้าบางรายการก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม
Source : Israel’s Netanyahu expects to meet Trump next week in the US | Reuters
สหรัฐอเมริกาได้ ระงับการส่งมิสไซล์บางส่วนให้กับยูเครน เนื่องจากกังวลว่าคลังอาวุธภายในประเทศอาจลดลงจนต่ำเกินไป
รายละเอียดที่สำคัญ:
• ยุติการส่งมิสไซล์ลับอากาศ (Patriot) จำนวน 30 ลูก, กระสุนปืนใหญ่ 155 มม. ราว 8,500 นัด, จรวด GMLRS กว่า 250 ลูก, และจรวด Hellfire อีก 142 ลูก
สาเหตุหลักมาจากการ ประเมินคลังอาวุธทิ้ง และความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อความพร้อมของกองทัพสหรัฐฯ
• ฝ่ายทำเนียบขาวระบุว่าต้อง “วางผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ไว้ข้างหน้า” พร้อมกับการทบทวนยุทธศาสตร์ทั่วโลก
Source : Ukraine voices concern as US halts some missile shipments | Reuters
Trump’s tax and spending bill passes

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ได้เสร็จสิ้นการประชุมในวันนี้แล้ว โดยที่ประชุมมีมติคงนโยบายการผลิตน้ำมันตามที่ได้ตกลงกันในการประชุมเดือนธ.ค.2567 โดยจะลดกำลังการผลิตรวม 2 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2569 ขณะเดียวกันวันเสาร์ที่ผ่านมา
(31 พ.ค.) สมาชิก 8 ชาติของกลุ่มโอเปกพลัส ได้แก่ รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอลจีเรีย อิรัก คาซัคสถาน คูเวต โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเคยตกลงลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจจำนวน 2 ครั้งก่อนหน้านี้ และขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการเพิ่มกำลังการผลิต จะจัดการประชุมแยกต่างหาก โดยที่ประชุมจะเห็นพ้องสำหรับการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน 411,000 บาร์เรล/วันในเดือนก.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพ.ค.และมิ.ย.
Source : Republicans muscle Trump’s sweeping tax-cut and spending bill through Congress | Reuters
Major Sections of The Big Beautiful Bill

Source : One Big Beautiful Bill Act – Wikipedia
Trump Remarks Rekindle NATO Defense Concerns
🔍 สรุปสาระสำคัญ
1. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์สร้างความกังวลในหมู่สมาชิกนาโตด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบของสหรัฐฯ ภายใต้ข้อผูกพันของ Article 5 — โดยเฉพาะปัญหาว่าสหรัฐฯ อาจไม่ช่วยเหลืออย่างเต็มที่หากพันธมิตรไม่เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันให้ได้ตามการคาดหวัง
2. ทรัมป์ผลักดันให้นาโตปรับเป้าใช้จ่ายป้องกันเพิ่มเป็น 5% ของ GDP แทนเป้าเดิม 2% และเตือนว่าการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ อาจขึ้นอยู่กับการบรรลุเป้าหมายนี้
3. สมาชิกยุโรปจำนวนมากรู้สึกไม่แน่ใจและกังวลเรื่องทิศทางพันธมิตร โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะดึงกองกำลังออกจากยุโรปไปยังภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
4. บางประเทศ เช่น เยอรมนีและโปแลนด์เริ่มเร่งเพิ่มงบป้องกันตัวเอง ขณะที่นักวิจัยเยอรมันเตือนว่านาโตอาจต้องเตรียมรับมือกับโลกยุคที่ไร้พันธมิตรสหรัฐฯ
5. NATO เองกำลังมองหาทางปรับโครงสร้าง ทั้งการเสริมความแข็งแกร่งของฝ่ายยุโรป และขยายเป้าหมายการใช้จ่ายไปยัง ด้านความมั่นคงไซเบอร์ โดรน และโครงข่ายพื้นฐาน
Source : Trump Sparks Fear Over NATO Future With Doubts on Defense Pledge – Bloomberg
Approaching Tariff Deadline Adds Tension

Source : Trump Enters Fraught Two-Week Run as Tax, Trade Deadlines Loom – Bloomberg
Canada rescinds digital services tax to advance trade talks with US

Source : US, Canada to resume trade talks after Ottawa drops digital tax | Reuters
Source : US, India push for trade pact after Trump strikes deal with Vietnam, sources say | Reuters

Fed Plans Two Rate Cuts by Year-End, Timing Unclear

🏦 ประเด็นสำคัญจากคำให้การต่อคณะกรรมาธิการ House Financial Services เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2025
1. ไม่เร่งรีบลดดอกเบี้ย
พาวเวลระบุว่า Fed พร้อมจะ “รอและเรียนรู้เพิ่มเติม” เกี่ยวกับการส่งผ่านราคาจากกำแพงภาษีเข้าสู่เงินเฟ้อก่อนดำเนินนโยบายใดๆ
2. ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับ “จำกัดปานกลาง”
ดอกเบี้ยอยู่ในช่วง 4.25–4.50% ซึ่งสูงกว่าระดับที่เป็นกลาง (neutral) ราว 1.25–1.5 จุด
3. ผลกระทบของกำแพงภาษียังไม่ชัดเจน
พาวเวลเตือนว่ากำแพงภาษีอาจช่วยดันราคาขึ้นและทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นผลแบบชั่วคราวหรือยั่งยืน
4. แรงกดดันจากทรัมป์
พล.อ.ทรัมป์กดดันให้ลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว แต่พาวเวลยืนยันว่าสถานะการคลัง และนโยบายกำแพงภาษีอยู่ภายใต้การพิจารณาและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามแรงกดดันการเมือง
5. ทิศทางในการตัดดอกเบี้ย
Fed คาดว่าจะมีการตัดดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปลายปีนี้ แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าเริ่มเมื่อไร ปัจจุบันตลาดส่วนใหญ่คาดว่าจะเริ่มลดครั้งแรกในเดือนกันยายน
สรุปภาพรวม
Fed ยัง คงดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25–4.50%
“ไม่รีบร้อน” ลดดอกเบี้ยจนกว่าจะมองเห็นผลจากกำแพงภาษีที่ชัดเจน
ตลาดคาดว่าการลดดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2025
Source :
Trump says he is considering for next Fed chair
🧭 ประเด็นสำคัญ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ วิจารณ์ เจอโรม พาวเวลล์ ว่า “terrible” และกล่าวว่าเขามีตัวเลือก “สามหรือสี่คน” สำหรับตำแหน่งผู้นำเฟดคนต่อไป
รายชื่อตัวเต็งประกอบด้วย:
Kevin Warsh — อดีตผู้ว่าการเฟด
Kevin Hassett — หัวหน้าที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจแห่งชาติ
Christopher Waller — ผู้ว่าการเฟดปัจจุบัน
Scott Bessent — รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ทรัมป์กล่าวว่าอาจแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ก่อนพาวเวลล์หมดวาระในเดือนพฤษภาคม 2026 แต่มักย้อนกลับคำ กล่าวว่า “ไม่คิดจะปลดเขาทันที”
นักวิเคราะห์มองว่า นี่เป็นยุทธวิธี “shadow Fed chair” — การวางตัวคนนอกที่อาจมีอิทธิพลต่อทิศทางนโยบายล่วงหน้า
พาวเวลล์ให้การกับรัฐสภาว่า ผลกระทบจากภาษีศุลกากรอาจเร่งเงินเฟ้อช่วงฤดูร้อน และเฟดยังไม่รีบลดอัตราดอกเบี้ย
Source :
A rate cut may not be good news

Is Bitcoin About to Hit a Break?

Source : http://www.barchart.com/stocks/market-performance
Bitcoin at the Crossroads: Entering a Bearish Cycle?

Economic Calendar

Source : https://th.investing.com/economic-calendar/
กองทุนเสนอขายครั้งแรก และการจัดอันดับกองทุนพักเงิน


จัดอันดับกองทุนพักเงินประเภทกองทุนตลาดเงินและตราสารหนี้ระยะสั้น โดยเรียงลำดับตามอัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี


ติดตามบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://wealthcertified.co.th/market-update/
Disclaimer
ข้อมูลและเนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ ถูกรวบรวมขึ้นจากแหล่งที่มาที่พิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามทางบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน เวลธ์ เซอร์ติฟายด์ จำกัด ไม่อาจรับประกันความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันของเอกสารฉบับนี้ รวมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ข้อมูลและความคิดเห็นในเอกสารฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ผู้ลงทุนต้องเข้าใจว่า ผลตอบแทนในอดีตไม่สามารถนำเอามาใช้รับประกันผลตอบแทนในปัจจุบันและอนาคตได้ ผู้ลงทุนมีโอกาสรับผลขาดทุนจากการขาดทุนได้ จึงต้องทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานที่นำเสนอนั้น อาจไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิเช่น ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะต้องมีการเรียกเก็บจากผู้ลงทุน เป็นต้น
เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่เอกสารเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปและไม่สามารถนำไปแก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนหรือทั้งหมด โดยปราศจากความเห็นชอบและอนุญาตจากบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน เวลธ์ เซอร์ติฟายด์ จำกัด